ชื่อภาษาอังกฤษ | Mango, Thong-dum variety
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Mangifera indica
ฤดูกาลของผลไม้ (ช่วงเดือน) :มีนาคม
ผล รูปกลมรี ผลอ้วนใหญ่ ติดผลเป็นพวง 1-3 ผล ลักษณะผลจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเห็นแล้วจะรู้ได้ทันทีว่าเป็นผล “มะม่วงทองดำ” เมล็ดลีบ เนื้อเยอะ ผลดิบ มีรสชาติมันปนเปรี้ยว
ข้อมูลโภชนาการ |
---|
หนึ่งหน่วยบริโภค : 100 กรัม (g) |
คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค พลังงานทั้งหมด 82 kcal |
ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน * |
Protein 0.5 g 0.82% |
Total Fat 0.8 g 1.03% |
Carbohydrate 18.2 g 7.74% |
|
Vitamin B1 2.5% |
Vitamin B2 3.85% |
Vitamin C 25% |
|
* ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน หมายถึง สารอาหารที่ได้รับจากการกินครั้งนี้ คิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของที่เราควรจะได้รับต่อวัน เช่น ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับต่อวัน คือ 300 กรัม จากตัวอย่าง คือ ผลไม้ 100 กรัม (g) ให้คาร์โบไฮเดรต 22 กรัม คิดเป็น 7% ของปริมาณที่ควรได้รับ ดังนั้นเราต้องกินเพิ่มอีก 93% จากอาหารอื่น |
ไม่พบภาพเพิ่มเติม
มะม่วงดอง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการดองมะม่วงสดในน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ 10% ถึง 12% ความเข้มข้นของเกลือระดับนี้ ทำให้มีการหมักเกิดขึ้น เนื่องจากแบคที่เรียที่สร้างกรดแลคติค และยีสต์ที่สามารถเจริญได้ในน้ำเกลือ โดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่เปลี่ยนสารอาหารที่ละลายในน้ำเกลือ เช่น น้ำตาล ให้เป็นกรดอินทรีย์ในระยะต้นของการหมักและการดองจะสิ้นสุดในช่วงระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน หลังจากนั้นถ้าค่อย ๆ เพิ่มเกลือให้มีความเข้มข้นมากขึ้นจนถึง 16% จะสามารถเก็บรักษา มะม่วงดองไว้ได้นานโดยต้องควบคุมไม่ให้มีอากาศที่ผิวหน้าน้ำเกลือในภาชนะดองด้วย
อ่านเพิ่มเติมมะม่วงแช่อิ่ม เป็นการถนอมอาหารโดยค่อยๆ เพิ่มน้ำตาลเข้าไปในเนื้ออาหารจนกระทั่งอาหารนั้นอิ่มตัวด้วยน้ำตาล ทำให้สภาพของอาหารไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์ มะม่วงแช่อิ่มจึงเก็บได้นาน
อ่านเพิ่มเติมการแช่อิ่มเป็นวิธีถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลเป็นตัวช่วย น้ำตาลที่มีความเข้มข้นสูงจะเข้าไปแทนที่น้ำ ซึ่งมีความเข้มข้นต่ำ
อ่านเพิ่มเติมแยม คือ ภัณฑ์ที่ทำจาก ผัก ผลไม้ หรือสมุนไพรชนิดเดียวหรือตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ผสมกับสารให้ความหวานผสมกรดซิตริก แพกติน หรือน้ำผลไม้เข้มข้นด้วยก็ได้ แล้วทำให้มีความข้นหนืด
อ่านเพิ่มเติมมะม่วงกวน หมายถึง การนำมะม่วงสุกมาปรุงแต่ง โดยใช้น้ำตาลหรือไมใช้ก็ได้ และลดปริมาณน้ำโดยวิธีการ กวน , ตาก , อบ
อ่านเพิ่มเติมเยลลี่ เป็นการถนอมอาหารที่ทำจากน้ำผลไม้ต้ม กับน้ำตาล จนกระทั่งถึงจุดเข้มข้นที่ต้องการและเมื่อ เย็นจะแข็งตัวเป็นวัน เยลลี่เป็นเจล ( gel ) มีลักษณะใส สีน่ารับประทานอยู่ตัวและทรงตัวได้ดี ไม่เหนียวหนืด เป็นประกาย ลื่น นุ่ม มีความไหวตัวได้แต่ไม่ไหลไปมา อ่อนนุ่ม สามารถตัดออกได้ง่ายด้วยซ้อนและรอยตัดนั้นจะไม่เปลี่ยนรูป เยลลี่ปัจจุบันที่วางขายตามท้องตลาดเป็นเยลลี่ ปรุงแต่งสีและเติมกลิ่นผสมกับสารให้ความหวานและทำให้มีความเข้มข้นเหนียวพอเหมาะโดยไม่มีน้ำผลไม้เจือปน ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภค การผลิตเยลลี่จากมะม่วงเป็นการแปรรูปผลไม้อย่างหนึ่ง จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางอาหาร และเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ สามารถนำมารับประทานร่วมกับไอศกรีม เป็นขนมหวานดีกว่าเยลลี่ปรุงแต่งสีและเติมกลิ่น
อ่านเพิ่มเติมแยมมะม่วงนั้นคล้ายกับมะม่วงกวน แต่ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำแยม มีดังนี้ ผลไม้ ( มะม่วง ) ควรใช้ผลที่ค่อนข้างสุก แต่ไม่สุกจัด หรือจะใช้ทั้งผลมะม่วงสุกและผลค่อนข้างดิบผสมกันก็ได้ เพคติน ในเนื้อมะม่วง ( ผักและผลไม้ ) จะมีเพคตินอยู่สิษณะคล้ายวุ้น กล่าวคือเมื่อผลไม้ ถูกความร้อน ( โดยการต้ม ) สารเพคดินจะถูกสกัด ออกมา ในมะม่วงมีปริมาณเพคตินอยู่บ้าง แต่ไม่พอเพียงต่อการทำแยม ดังนั้นต้องเติมเพคตินลงไปด้วยเพื่อให้ได้ปริมาณกรดและน้ำตาลที่เหมาะสม น้ำตาล ตามมาตรฐานแยมจะต้องทำมาจากเนื้อผลไม้ ( มะม่วง ) 45 ส่วน และน้ำตาล 55 ส่วน กรด เนื่องจากมะม่วงมีกรดไม่เพียงพอ ( มะม่วงใช้ทำแยม ) จึงต้องเติมกรดซิตริก , น้ำมะนาวหรือกรดเพคติน เพื่อให้ลักษณะเนื้อของแยมอยู่ตัวดีที่สุด คือที่ pH 2.6 - 3.4 และกรดเหล่านี้ยังช่วยมิให้น้ำตาลตกผลึกอีกด้วย การเติมกรดต้องเติมขณะที่เคี่ยวแยมได้ที่แล้ว หากเติมกรดก่อนหรือต้มนานเกินไปกรดนี้จะทำให้เพคตินสลายตัวจนสูญเสียคุณสมบัติการอยู่ตัว สี เมื่อเคี่ยวแยมได้ที่แล้วหากจะใส่สีก็ให้ใส่ตอนนั้น และสีที่ใส่ต้องเป็น สีผสมอาหารที่รับประทานได้ไม่เป็นอันตราย
อ่านเพิ่มเติมซอสมะม่วงเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งเกิดจากการถนอม รักษาผลไม้โดยอาศัยเครื่องเทศเพราะเครื่องเทศจะช่วย ในเรื่องของกลิ่นและรส ส่วนพวกน้ำส้มสายชู เกลือและน้ำตาล ช่วยปรับปรุงให้ รสอร่อยขึ้น
อ่านเพิ่มเติมมะม่วงหยี คือการนำมะม่วงกวนมาคลุกกับน้ำตาลทราย เกลือป่น พริกแห้งป่นและผงชะเอม ซึ่งมะม่วงหยีสามารถทำได้จากมะม่วงสุกทุกชนิด ผลไม่สวยสามารถทำมะม่วงหยีได้ทุกพันธุ์ โดยเฉพาะพวกมะม่วงแก้วใช้มะม่วงสุกจัดๆ แต่ไม่เน่าเสีย ปอกเปลือกออก แล้วขูดด้วยที่ขูดมะละกอ หรือทำให้เนื้อมะม่วงเละด้วยการคลึงไปบนฝ่ามือ นำไปเคี่ยวในกระทะโดยใช้ไฟอ่อน ๆ และใส่เกลือเล็กน้อยเคี่ยวจนเหนียว ตากให้แห้งหั่นเป็นชิ้น
อ่านเพิ่มเติมไอศกรีมมะม่วง เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเนื้อมะม่วงสุก ผสมกับไขมัน น้ำตาล และส่วนผสมอื่น ๆ นำมาตีปั่นผสมให้เข้ากัน จนได้เนื้อลักษณะละเอียด นำไปแช่แข็ง ในช่องแข็งของตู้เย็น บรรจุในภาชนะปิดสนิท
อ่านเพิ่มเติมน้ำมะม่วงสุก เป็นผลิตภัณฑ์ที่แปรรูป (ไปขายต่างประเทศหรือจะทำไว้กินเองก็ได้) โดยใช้มะม่วงสุกจัด ๆ ส่วนกลิ่นและรสของน้ำมะม่วงที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของมะม่วงชนิดนั้นๆ
อ่านเพิ่มเติมน้ำมะม่วงดิบ เป็นผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปไว้ขายหรือจะทำไว้กินเองก็ได้ โดยใช้มะม่วงดิบที่มีรสเปรี้ยวไม่มากนักกลิ่นและรสของน้ำมะม่วงที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของมะม่วงชนิดนั้น ๆ
อ่านเพิ่มเติมแผนภูมิเรดาร์ (Radar chart) หรือ แผนภูมิใยแมงมุม (Spider chart) ใช้แสดงการเปรียบเทียบระดับปริมาณสารอย่างน้อย 1 ชนิด โดยแต่ละมุมจะแสดงสาร 1 ชนิด และสามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบปริมาณสารชนิดเดียวกันในผลไม้หลายชนิดพร้อมกันได้ คู่มือ
การปรับบรรทัดฐาน (Normalization) ด้วยวิธี Rescaling หรือ Min-Max Normalization เพื่อปรับช่วงข้อมูลให้อยู่ในช่วง [0, 1] ด้วยการนำค่าข้อมูลนั้น ลบด้วยค่าที่น้อยที่สุด (Min) ของมัน แล้วหารด้วยช่วงของข้อมูลนั้น (Max – Min) คู่มือ
Energy by calculation |
Protein total |
Fat total |
Carbohydrate available |
Ash |
Thiamin |
Riboflavin |
Vitamin C |
Lupeol |
Mangiferin |
Gallic acid |
Chlorogenic acid |
Vanillic acid |
Ferulic acid |
Caffeic acid |
Cyanidin |
Catechin |
Kaempferol |
Myricetin |
Proanthocyanidin dimers |
Proanthocyanidin trimers |
Quercetin |
β-Carotene |
α-Carotene |
β-Cryptoxanthin |
Lycopene |
Lutein |
Zeaxanthin |
Flavonoids |
- Vithana MD., Singh Z. & Johnson SK. (2019). Regulation of the levels of health promoting compounds: lupeol, mangiferin and phenolic acids in the pulp and peel of mango fruit: a review. J Sci Food Agric, 99(8), 3740-3751. doi: 10.1002/jsfa.9628. [Link]
- Lebaka VR, Wee Y-J, Ye W. & Korivi M. (2021). Nutritional Composition and Bioactive Compounds in Three Different Parts of Mango Fruit. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(2), 741. https://doi.org/10.3390/ijerph18020742 [Link]
- Kunchit Judprasong, Prapasri Puwastien, Nipa Rojroongwasinkul, Anadi Nitithamyong, Piyanut Sridonpai, Amnat Somjai. Institute of Nutrition, Mahidol University (2015). Thai Food Composition Database, Online version 2, September 2018, Thailand. [Link]
- คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. (2563). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. [Link]