demo fruit profile ver0.2
ภาพตัวอย่าง
ชื่อท้องถิ่น
มะม่วงน้ำดอกไม้

ชื่อภาษาอังกฤษ | Mango, Num-dok-mai variety
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Mangifera indica


ฤดูกาลของผลไม้ (ช่วงเดือน) :มีนาคม

ข้อมูลลักษณะ

ผล มีลักษณะรูปทรงรี โคนมนปลายรี ผิวเปลือกบาง ผลอ่อนมีสีเขียว มียางสีขาว มีรสชาติเปรี้ยวมาก ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อสุกมีสีเหลือง มีเนื้อแน่นนุ่มฉ่ำน้ำ มีเนื้อมาก มีรสชาติหวานฉ่ำ มีกลิ่นหอม มีเมล็ดแข็งแบนบางรี สีขาวนวล อยู่ข้างในเนื้อ

ข้อมูลโภชนาการ

หนึ่งหน่วยบริโภค : 100 กรัม (g)

คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

พลังงานทั้งหมด

73 kcal

ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน *

Protein 0.65 g

1.07%

Total Fat 0.23 g

0.29%

Carbohydrate 16.64 g

7.08%

Dietary Fiber 1.1 g

4.4%

Sugars 14.66 g

22.55%

Calcium

0.63%

Phosphorus

2.29%

Magnesium

2.29%

Sodium

0.25%

Potassium

4.15%

Iron

1.74%

Copper

5.63%

Zinc

0.82%

Selenium

1.27%

Beta-carotene

20.45%

Vitamin A

7%

Vitamin B1

9.17%

Vitamin B2

4.62%

Niacin

11.25%

Vitamin C

10%

* ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน หมายถึง สารอาหารที่ได้รับจากการกินครั้งนี้ คิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของที่เราควรจะได้รับต่อวัน เช่น ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับต่อวัน คือ 300 กรัม จากตัวอย่าง คือ ผลไม้ 100 กรัม (g) ให้คาร์โบไฮเดรต 22 กรัม คิดเป็น 7% ของปริมาณที่ควรได้รับ ดังนั้นเราต้องกินเพิ่มอีก 93% จากอาหารอื่น

ภาพประกอบ

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

มะม่วงดอง

มะม่วงดอง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการดองมะม่วงสดในน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ 10% ถึง 12% ความเข้มข้นของเกลือระดับนี้ ทำให้มีการหมักเกิดขึ้น เนื่องจากแบคที่เรียที่สร้างกรดแลคติค และยีสต์ที่สามารถเจริญได้ในน้ำเกลือ โดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่เปลี่ยนสารอาหารที่ละลายในน้ำเกลือ เช่น น้ำตาล ให้เป็นกรดอินทรีย์ในระยะต้นของการหมักและการดองจะสิ้นสุดในช่วงระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน หลังจากนั้นถ้าค่อย ๆ เพิ่มเกลือให้มีความเข้มข้นมากขึ้นจนถึง 16% จะสามารถเก็บรักษา มะม่วงดองไว้ได้นานโดยต้องควบคุมไม่ให้มีอากาศที่ผิวหน้าน้ำเกลือในภาชนะดองด้วย

อ่านเพิ่มเติม
มะม่วงแช่อิ่ม

มะม่วงแช่อิ่ม เป็นการถนอมอาหารโดยค่อยๆ เพิ่มน้ำตาลเข้าไปในเนื้ออาหารจนกระทั่งอาหารนั้นอิ่มตัวด้วยน้ำตาล ทำให้สภาพของอาหารไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์ มะม่วงแช่อิ่มจึงเก็บได้นาน

อ่านเพิ่มเติม
มะม่วงแช่อิ่มแห้ง

การแช่อิ่มเป็นวิธีถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลเป็นตัวช่วย น้ำตาลที่มีความเข้มข้นสูงจะเข้าไปแทนที่น้ำ ซึ่งมีความเข้มข้นต่ำ

อ่านเพิ่มเติม
แยมมะม่วงดิบ

แยม คือ ภัณฑ์ที่ทำจาก ผัก ผลไม้ หรือสมุนไพรชนิดเดียวหรือตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ผสมกับสารให้ความหวานผสมกรดซิตริก แพกติน หรือน้ำผลไม้เข้มข้นด้วยก็ได้ แล้วทำให้มีความข้นหนืด

อ่านเพิ่มเติม
มะม่วงกวน

มะม่วงกวน หมายถึง การนำมะม่วงสุกมาปรุงแต่ง โดยใช้น้ำตาลหรือไมใช้ก็ได้ และลดปริมาณน้ำโดยวิธีการ กวน , ตาก , อบ

อ่านเพิ่มเติม
เยลี่มะม่วง

เยลลี่ เป็นการถนอมอาหารที่ทำจากน้ำผลไม้ต้ม กับน้ำตาล จนกระทั่งถึงจุดเข้มข้นที่ต้องการและเมื่อ เย็นจะแข็งตัวเป็นวัน เยลลี่เป็นเจล ( gel ) มีลักษณะใส สีน่ารับประทานอยู่ตัวและทรงตัวได้ดี ไม่เหนียวหนืด เป็นประกาย ลื่น นุ่ม มีความไหวตัวได้แต่ไม่ไหลไปมา อ่อนนุ่ม สามารถตัดออกได้ง่ายด้วยซ้อนและรอยตัดนั้นจะไม่เปลี่ยนรูป เยลลี่ปัจจุบันที่วางขายตามท้องตลาดเป็นเยลลี่ ปรุงแต่งสีและเติมกลิ่นผสมกับสารให้ความหวานและทำให้มีความเข้มข้นเหนียวพอเหมาะโดยไม่มีน้ำผลไม้เจือปน ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภค การผลิตเยลลี่จากมะม่วงเป็นการแปรรูปผลไม้อย่างหนึ่ง จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางอาหาร และเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ สามารถนำมารับประทานร่วมกับไอศกรีม เป็นขนมหวานดีกว่าเยลลี่ปรุงแต่งสีและเติมกลิ่น

อ่านเพิ่มเติม
แยมมะม่วงสุก

แยมมะม่วงนั้นคล้ายกับมะม่วงกวน แต่ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำแยม มีดังนี้ ผลไม้ ( มะม่วง ) ควรใช้ผลที่ค่อนข้างสุก แต่ไม่สุกจัด หรือจะใช้ทั้งผลมะม่วงสุกและผลค่อนข้างดิบผสมกันก็ได้ เพคติน ในเนื้อมะม่วง ( ผักและผลไม้ ) จะมีเพคตินอยู่สิษณะคล้ายวุ้น กล่าวคือเมื่อผลไม้ ถูกความร้อน ( โดยการต้ม ) สารเพคดินจะถูกสกัด ออกมา ในมะม่วงมีปริมาณเพคตินอยู่บ้าง แต่ไม่พอเพียงต่อการทำแยม ดังนั้นต้องเติมเพคตินลงไปด้วยเพื่อให้ได้ปริมาณกรดและน้ำตาลที่เหมาะสม น้ำตาล ตามมาตรฐานแยมจะต้องทำมาจากเนื้อผลไม้ ( มะม่วง ) 45 ส่วน และน้ำตาล 55 ส่วน กรด เนื่องจากมะม่วงมีกรดไม่เพียงพอ ( มะม่วงใช้ทำแยม ) จึงต้องเติมกรดซิตริก , น้ำมะนาวหรือกรดเพคติน เพื่อให้ลักษณะเนื้อของแยมอยู่ตัวดีที่สุด คือที่ pH 2.6 - 3.4 และกรดเหล่านี้ยังช่วยมิให้น้ำตาลตกผลึกอีกด้วย การเติมกรดต้องเติมขณะที่เคี่ยวแยมได้ที่แล้ว หากเติมกรดก่อนหรือต้มนานเกินไปกรดนี้จะทำให้เพคตินสลายตัวจนสูญเสียคุณสมบัติการอยู่ตัว สี เมื่อเคี่ยวแยมได้ที่แล้วหากจะใส่สีก็ให้ใส่ตอนนั้น และสีที่ใส่ต้องเป็น สีผสมอาหารที่รับประทานได้ไม่เป็นอันตราย

อ่านเพิ่มเติม
ซอสมะม่วง

ซอสมะม่วงเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งเกิดจากการถนอม รักษาผลไม้โดยอาศัยเครื่องเทศเพราะเครื่องเทศจะช่วย ในเรื่องของกลิ่นและรส ส่วนพวกน้ำส้มสายชู เกลือและน้ำตาล ช่วยปรับปรุงให้ รสอร่อยขึ้น

อ่านเพิ่มเติม
มะม่วงหยี

มะม่วงหยี คือการนำมะม่วงกวนมาคลุกกับน้ำตาลทราย เกลือป่น พริกแห้งป่นและผงชะเอม ซึ่งมะม่วงหยีสามารถทำได้จากมะม่วงสุกทุกชนิด ผลไม่สวยสามารถทำมะม่วงหยีได้ทุกพันธุ์ โดยเฉพาะพวกมะม่วงแก้วใช้มะม่วงสุกจัดๆ แต่ไม่เน่าเสีย ปอกเปลือกออก แล้วขูดด้วยที่ขูดมะละกอ หรือทำให้เนื้อมะม่วงเละด้วยการคลึงไปบนฝ่ามือ นำไปเคี่ยวในกระทะโดยใช้ไฟอ่อน ๆ และใส่เกลือเล็กน้อยเคี่ยวจนเหนียว ตากให้แห้งหั่นเป็นชิ้น

อ่านเพิ่มเติม
ไอศกรีมมะม่วง

ไอศกรีมมะม่วง เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเนื้อมะม่วงสุก ผสมกับไขมัน น้ำตาล และส่วนผสมอื่น ๆ นำมาตีปั่นผสมให้เข้ากัน จนได้เนื้อลักษณะละเอียด นำไปแช่แข็ง ในช่องแข็งของตู้เย็น บรรจุในภาชนะปิดสนิท

อ่านเพิ่มเติม
น้ำมะม่วงสุก

น้ำมะม่วงสุก เป็นผลิตภัณฑ์ที่แปรรูป (ไปขายต่างประเทศหรือจะทำไว้กินเองก็ได้) โดยใช้มะม่วงสุกจัด ๆ ส่วนกลิ่นและรสของน้ำมะม่วงที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของมะม่วงชนิดนั้นๆ

อ่านเพิ่มเติม
น้ำมะม่วงดิบ

น้ำมะม่วงดิบ เป็นผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปไว้ขายหรือจะทำไว้กินเองก็ได้ โดยใช้มะม่วงดิบที่มีรสเปรี้ยวไม่มากนักกลิ่นและรสของน้ำมะม่วงที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของมะม่วงชนิดนั้น ๆ

อ่านเพิ่มเติม
ข้าวเกรียบมะม่วง

อ่านเพิ่มเติม
ข้าวเกรียบมะม่วงผสมฟักทอง

อ่านเพิ่มเติม
น้ำเชื่อมมะม่วง

อ่านเพิ่มเติม
น้ำสลัดมะม่วง

อ่านเพิ่มเติม
น้ำมะม่วงผสมน้ำส้ม

อ่านเพิ่มเติม
น้ำมะม่วงผสมน้ำทับทิม

อ่านเพิ่มเติม

สารที่พบ


สารอาหารหลัก
Energy by calculation
Protein total
Fat total
Carbohydrate available
Dietary fibre
Ash
Sugars total
สารอาหารรอง
Calcium
Phosphorus
Magnesium
Sodium
Potassium
Iron
Copper
Zinc
Selenium
Beta-carotene
Vitamin A retinol activity equivalent
Thiamin
Riboflavin
Niacin
Vitamin C
สารพฤกษเคมี
Lupeol
Mangiferin
Gallic acid
Chlorogenic acid
Vanillic acid
Ferulic acid
Caffeic acid
Cyanidin
Catechin
Kaempferol
Myricetin
Proanthocyanidin dimers
Proanthocyanidin trimers
Quercetin
β-Carotene
α-Carotene
β-Cryptoxanthin
Lycopene
Lutein
Zeaxanthin
Flavonoids

กราฟเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารหลักที่พบ

สารอาหารหลัก (Macronutrients)
เลือกชนิดของสารได้สูงสุดจำนวน 5 ชนิด เพื่อแสดงปริมาณสารที่เลือกบนแผนภูมิเรดาร์

กราฟเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารรองที่พบ

สารอาหารรอง (Micronutrients)
เลือกชนิดของสารได้สูงสุดจำนวน 5 ชนิด เพื่อแสดงปริมาณสารที่เลือกบนแผนภูมิเรดาร์

กราฟเปรียบเทียบปริมาณสารออกฤทธิ์ที่พบ

สารพฤกษเคมี (Phytochemicals)
เลือกชนิดของสารได้สูงสุดจำนวน 5 ชนิด เพื่อแสดงปริมาณสารที่เลือกบนแผนภูมิเรดาร์

แหล่งอ้างอิง
- Vithana MD., Singh Z. & Johnson SK. (2019). Regulation of the levels of health promoting compounds: lupeol, mangiferin and phenolic acids in the pulp and peel of mango fruit: a review. J Sci Food Agric, 99(8), 3740-3751. doi: 10.1002/jsfa.9628. [Link]
- Lebaka VR, Wee Y-J, Ye W. & Korivi M. (2021). Nutritional Composition and Bioactive Compounds in Three Different Parts of Mango Fruit. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(2), 741. https://doi.org/10.3390/ijerph18020742 [Link]
- Kunchit Judprasong, Prapasri Puwastien, Nipa Rojroongwasinkul, Anadi Nitithamyong, Piyanut Sridonpai, Amnat Somjai. Institute of Nutrition, Mahidol University (2015). Thai Food Composition Database, Online version 2, September 2018, Thailand. [Link]
- คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. (2563). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. [Link]